WordPress คืออะไร WordPress ทําอะไรได้บ้าง ดูข้อดี-ข้อเสีย และวิธีใช้เบื้องต้น

WordPress

มีใครอยากทำเว็บไซต์บ้างยกมือขึ้น! 

แน่นอนว่า กดเข้ามาอ่านบทความนี้ ต้องมีความคิดแล้วแหละว่าอยากจะสร้างเว็บไซต์ด้วย WordPress ว่าแต่ การใช้ WordPress นี้ดียังไง WordPress คืออะไร เราไม่จำเป็นต้องเขียนเว็บไซต์เองแล้วเหรอ และถ้าจะใช้ WordPress ในการเขียนเว็บไซต์เพื่อทำอันดับบน Search Engine อย่าง Google มีอะไรต้องรู้บ้าง

WordPress คืออะไร

WordPress คืออะไร

ที่มาภาพ: kinsta.com

WordPress คือ เว็บไซต์ที่เรียกว่า Contents Management System หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า CMS แบบที่คนไม่รู้เรื่อง Coding ก็สามารถใช้ WordPress ในการสร้างเว็บไซต์ได้ ถ้าพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็เป็นเหมือนโปรแกรมสำเร็จรูปที่ให้เราเข้าไปสร้างหน้าเว็บไซต์ สร้างบล็อก ลงรูปภาพ แบบที่ไม่ต้องเสียเวลาเขียนเว็บไซต์ขึ้นมาเอง เพราะ WordPress เขามีองค์ประกอบหลัก 3 อย่างที่ช่วยให้ทุกคนเข้าไปทำเว็บเองได้ง่ายๆ เลย นั่นคือ

  • WordPress core engine จะเป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้จัดการหน้าต่างๆ ทั้งหน้า Landing Page และ Post 
  • Theme จะเป็นส่วนของดีไซน์หน้าตาของเว็บไซต์มีให้เลือกใช้เยอะแยะมากมาย ทั้งในแบบฟรีและเสียเงิน แถมยังปรับแต่งธีมเองได้อีกด้วย
  • Plugin จะเป็นตัวช่วยในการเพิ่มความสามารถให้กับเว็บไซต์ เช่น ทำหน้ารายการสินค้า, ใส่ปลั๊กอินเพื่อช่วยในเรื่องของการทำ SEO เป็นต้น

นอกจากนี้  WordPress ยังมีระบบหลังบ้านที่ใช้จัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์ผ่านอินเทอร์เน็ตได้เลย โดยไม่ต้องโหลดโปรแกรมมาลงเครื่องหรือนั่งเขียนโค้ดเองให้เสียเวลา

ข้อดี-ข้อเสียของ WordPress

ข้อดีของการใช้งาน WordPress

  • ไม่ต้องเสียเงินจ้างโปรแกรมเมอร์

อย่างที่รู้กันอยู่ว่าถ้าจ้างโปรแกรมเมอร์ในการทำเว็บไซต์อาจมีค่าใช้จ่ายที่สูง การใช้ WordPress จึงเหมาะกับคนที่อยากลดค่าใช้จ่ายในการสร้างเว็บไซต์ เพราะเป็น Opensource ที่เข้าไปใช้งานได้ฟรี จึงช่วยประหยัดงบในส่วนนี้ลงไปได้เยอะมากเลยทีเดียว

  • ดีไซน์สวยงาม เลือกได้ตามใจชอบ

เพราะ WordPress มีธีมให้เลือกใช้งานเยอะแยะ แถมยังปรับแต่งได้ด้วยตัวเอง จึงช่วยทำให้เว็บไซต์ดูสวยงามโดยไม่ต้องพึ่งพา UX/UI ในการออกแบบให้เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

  • มีฟังก์ชันการใช้งานที่หลากหลายและครอบคลุม

การที่ WordPress มีปลั๊กอินมากมายให้เลือกติดตั้ง เพื่อเพิ่มฟังก์ชันการใช้งานที่เหมาะสมกับแต่ละเว็บไซต์ได้มากขึ้น มีส่วนช่วยให้ทำเว็บไซต์ที่มีฟังก์ชันหลากหลายได้ง่ายมากกว่าที่เคย เช่น การทำระบบซื้อ-ขายสินค้าบนเว็บไซต์ เป็นต้น

  • มีการอัปเดตเวอร์ชันอยู่ตลอดเวลา

เนื่องจากมีผู้ใช้งานจำนวนมาก WordPress จึงทำการอัปเดตเวอร์ชันเพื่อความปลอดภัยและทำให้ใช้งานง่ายมากขึ้นอยู่เสมอ ทำให้ผู้ใช้งานไว้วางใจได้ อีกทั้งหากเกิดเผลอลบหรือทำผิดพลาดไปก็สามารถกู้คืนเนื้อหาเดิมกลับมาได้อีกด้วย

  • รองรับการใช้งานในทุกอุปกรณ์

SEO ให้ความสำคัญกับการทำ Mobile Friendly หากคุณใช้งาน WordPress จะมีข้อดีตรงที่ธีม WordPress ส่วนมากจะรองรับและปรับขนาดให้เข้ากับอุปกรณ์ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ จึงไม่ต้องมาปรับแต่งหน้าตาของเว็บไซต์แยกในแต่ละอุปกรณ์

  • ไม่ต้องเขียนโค้ดเอง

ใครไม่มีทักษะด้านการเขียนโปรแกรมหรือ Coding ก็สามารถลงมือทำเว็บไซต์ WordPress ได้ เพราะหลังบ้านที่เป็นตัว Eidtor ส่วนใหญ่ออกแบบมาในรูปแบบ Drag and drop ก็คือลากชิ้นส่วนต่างๆ ที่อยากได้แล้วเอามาวางเป็นดีไซน์ของเว็บไซต์ได้เลย

ข้อเสียของการใช้งาน WordPress

  • มักมีปัญหาจากการอัปเดต

WordPress มักทำการอัปเดตเวอร์ชันอยู่บ่อยๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งาน ทำให้เว็บไซต์ต่างๆ เกิดความผิดปกติตามมาได้ ทางที่ดีควรทำการสำรองไฟล์เว็บไซต์ในเวอร์ชันเดิมเอาไว้ก่อนจะกดทำการอัปเดตทุกครั้ง เพื่อป้องกันข้อมูลสูญหาย

  • มีข้อจำกัดในการปรับแต่งบางอย่าง

ธีม WordPress หรือปลั๊กอินในเวอร์ชันฟรีจะไม่สามารถใช้งานฟีเจอร์ในเวอร์ชันเสียเงินได้ ทำให้บางครั้งต้องทำการจ่ายเงินซื้อเพิ่ม

  • ถ้าติดปลั๊กอินเยอะจะทำให้เว็บไซต์โหลดช้า

หากทำการติดปลั๊กอินจำนวนมากจะส่งผลกระทบให้เว็บไซต์ช้า ทำให้หลายคนเลือกที่จะจ่ายเงินซื้อปลั๊กอินที่สามารถจัดการเว็บไซต์ได้หลายฟังก์ชันมากขึ้น เพื่อที่เว็บไซต์จะได้โหลดเร็วมากขึ้นเนื่องจากปลั๊กอินที่ติดตั้งมีจำนวนน้อยลงนั่นเอง


WordPress ทําอะไรได้บ้าง

หลายคนอาจจะสงสัยว่าใช้ WordPress ทําเว็บไซต์อะไรได้บ้าง ก็ต้องบอกว่าใช้ทำเว็บไซต์ได้เกือบทุกประเภทเลยก็ว่าได้ ยกตัวอย่างเช่น

เว็บไซต์บล็อก (Blog)

เว็บบล็อกจะเป็นเว็บประเภทให้ความรู้ แบ่งปันประสบการณ์ เขียนบทความ SEO หรือทำบล็อกรีวิว ไปจนถึงเสนอความคิดเห็นก็ได้ ยกตัวอย่างเว็บไซต์ yenped เองก็เป็นเว็บประเภทนี้ด้วยเหมือนกัน

เว็บไซต์สำหรับธุรกิจ (Business Website)

สำหรับธุรกิจไหนที่ต้องการเพิ่มยอดขายหรือสร้าง Brand Awareness ด้วยการทำ SEO หรือ SEM ก็สามารถใช้ WordPress ในการสร้างเว็บไซต์ของธุรกิจขึ้นมาได้ ซึ่งจะสร้างเว็บไซต์เองหรือจะใช้บริการรับทำเว็บไซต์ WordPress จากผู้เชี่ยวชาญก็ได้ แถมในเว็บไซต์อาจจะใส่ช่องกรอกฟอร์มให้คนเข้ามาติดต่อ การกดขอใบเสนอราคา หรือทิ้งอีเมลเอาไว้เพื่อให้ติดต่อกลับก็ได้เช่นกัน

เว็บไซต์ขายของออนไลน์ (E-Commerce)

WordPress มีปลั๊กอินหลายแบบที่รองรับการสร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์ได้ เช่น WooCommerce ทำให้สามารถสร้างลิสต์รายการสินค้า กดสินค้าลงตะกร้า ไปจนถึงสร้างให้กดชำระเงินผ่านเว็บไซต์เลยก็ได้เช่นกัน

สมัครใช้ WordPress ยังไง

สอนสมัครใช้ WordPress ในเวอร์ชันฟรี

  1. เข้าไปที่ www.wordpress.com แล้วทำการกด Get Started ได้เลย
  2. เลือกวิธีการล็อกอินเข้าใช้งาน WordPress โดยจะเลือกได้ทั้งเข้าใช้งานด้วยการพิมพ์อีเมล สมัครผ่าน Google Account หรือจะใช้ Apple ID ในการสมัครก็ได้
  3. ทำการกรอกโดเมนที่จะใช้หลังจากนั้นจะมีชื่อโดเมนทั้งแบบเสียเงินและแบบฟรีขึ้นมาให้เลือก ให้เลือกชื่อโดเมนที่ต้องการ
  4. ทำการเลือก Goal ที่ทำเว็บไซต์แล้วกด Contunue
  5. ตั้งชื่อบล็อก สโตร์ หรือเว็บไซต์ของคุณ รวมถึงใส่ Tagline ให้เรียบร้อย แล้วกด Continue
  6. หลังจากนั้นจะมีดีไซน์ของเว็บไซต์มาให้เลือก โดยสามารถเลือกได้ด้วยว่าจะเป็นธีมเว็บไซต์แบบไหน เช่น เป็น บล็อก สโตร์ ธุรกิจ ฯลฯ
  7. เมื่อเลือกหน้าตาเว็บไซต์ที่ต้องการ รวมถึงปรับแต่งสีตามที่อยากได้แล้วก็กด Continue
  8. หลังจากนั้นจะเป็นการพาเข้าสู่หน้า Dashboard หลังบ้านที่สามารถตั้งค่าการใช้งาน ดีไซน์หน้าตาเว็บไซต์ ไปจนถึงติดตั้งปลั๊กอินเพิ่มเติมได้แล้ว

สอนสมัครใช้ WordPress ในเวอร์ชัน Advanced

แต่สำหรับใครที่อยากทำเว็บไซต์แบบจบๆ และคาดหวังว่าจะทำ Performance ด้าน SEO ดีๆ ด้วย แนะนำให้ลองทำตาม Checklist ด้านล่างนี้ได้เลยนะเมี้ยว~

  • ทำการจดโดเมน โดยเข้าไปซื้อโดเมนที่ต้องการได้ตามเว็บไซต์ผู้ให้บริการ เช่น namecheapgodaddy เป็นต้น โดยมีค่าใช้จ่ายส่วนนี้อยู่ที่ประมาณ 400 – 1000 บาท ขึ้นอยู่กับนามสกุลของเว็บไซต์ที่เลือกใช้ เช่น .com, .net, .info ฯลฯ
  • ทำการเลือกเช่า Hosting หรือพื้นที่สำหรับจัดเก็บเว็บไซต์ ซึ่งก็มีให้เลือกหลายเจ้า แนะนำให้เลือก Hosting ที่น่าเชื่อถือ มีคนคอยตอบคำถาม และเป็น Hosting ของเว็บไซต์ในประเทศที่เราจะทำเว็บไซต์ในพื้นที่นั้นๆ อย่างเช่น ในไทยเราก็มี Hosting ให้เลือกหลายเจ้า เช่น HostAtomRukcom ฯลฯ โดยราคาจะอยู่ที่ประมาณ 1500 – 3000 บาท แล้วแต่แพ็คเกจที่เลือก
  • ตั้งค่า Nameserver ให้เว็บไซต์
  • ทำ HTTPS ให้กับเว็บไซต์
  • ทำการสมัคร WordPress ให้เรียบร้อย และทำการเลือกธีมโดยธีมที่มีฟังก์ชันสนับสนุนสำหรับการปรับแต่งหน้าตาต่างๆ ส่วนใหญ่จะเป็นธีมที่เสียเงิน โดยจะอยู่ที่ประมาณ 2,000-2,500 บาท

หลังจากนั้นลองดูวิธีการใช้งาน WordPress เบื้องต้นในหัวข้อถัดไปได้เลย

สอนวิธีใช้ WordPress

1. เข้าสู่เว็บไซต์

หากต้องการล็อกอินเข้าสู่ WordPess ให้พิมพ์ https://wordpress.com/wp-admin แล้วใส่ Username และ Password ได้เลย

2. เรียนรู้ระบบหลังบ้าน

เมื่อเข้าสู่หลังบ้านจะเห็นแถบเครื่องมือฝั่งซ้ายมือ ซึ่งเราจะใช้สำหรับตั้งค่าหรือจัดทำหน้าเว็บไซต์ต่างๆ โดยจะมีส่วนสำคัญๆ ที่ต้องทำความรู้จัก ดังนี้

  1. Posts เป็นหน้าจัดการโพสต์ต่างๆ อย่างเช่น โพสต์บล็อกบทความ
  2. Media จะเป็นส่วนอัปโหลดรูปหรือวิดีโอ หรือไฟล์ต่างๆ เข้ามายังเว็บไซต์
  3. Pages จะเป็นหน้าสำหรับสร้าง Landing page ของเว็บไซต์
  4. Comments จะเป็นส่วนคอมเมนต์ที่มีเข้ามายังเว็บไซต์ ซึ่งจะเลือกแสดงหรือลบออกก็ได้
  5. WooCommerce ใช้สำหรับจัดการสินค้าสำหรับธุรกิจขายสินค้าออนไลน์
  6. Appearrence ใช้สำหรับปรับแต่งธีม
  7. Plugin ใช้สำหรับติดตั้งปลั๊กอินเสริมประสิทธิภาพให้กับเว็บไซต์
  8. Users ใช้สำหรับจัดการ User อย่างการเพิ่ม Member Team เข้ามา
  9. Settings จะเป็นการตั้งค่าต่างๆ เช่น ตั้งค่าการอ่าน การเขียน ใส่รูปโปรไฟล์ ภาษา ฯลฯ

3. ตั้งค่าเว็บไซต์พื้นฐาน

ในอันดับแรกเรามาทำการ Settings ค่าต่างๆ ของเว็บไซต์กันก่อน โดยรายละเอียดต่างๆ จะมีดังนี้

  1. Site Title: ใส่ชื่อเว็บไซต์ลงไป 
  2. Site Tagline: เขียนคำอธิบายสั้นๆ เกี่ยวกับธุรกิจลงไป
  3. Site Address: ใส่ชื่อเว็บไซต์
  4. Site Language: เลือกภาษาที่ต้องการใช้
  5. Time zone: เลือกโซนเวลาของเว็บไซต์

เมื่อตั้งค่าพื้นฐานเรียบร้อยแล้วก็กด Save Settings ได้เลย

4. ทำการสร้างหน้าเพจ (Page) และหน้าโพสต์ (Post) 

ลองตั้งค่าหน้าเพจ (Page) และหน้าโพสต์ (Post) ด้วยวิธีการตามนี้

หน้าเพจ (Page) 

  • ให้เข้าไปที่ Pages แล้วคลิก Add new Page
  • ทำการปรับแต่งหน้าตาของเพจได้ตามใจชอบ โดยเลือกใส่ Element ที่ต้องการได้ในรูปแบบ Drag & Drop ได้เลย 
  • โดยหน้าเพจที่สร้างจะเป็นหน้าที่ขึ้นมาอยู่ใน Menu Bar ด้านบนเรียกว่าเป็นหน้าหลักของเซอร์วิสนั่นเอง 

หน้าโพสต์ (Post)

  • ให้เข้าไปที่ Posts แล้วกดที่ปุ่ม Add new post
  • หน้า Editor ของโพสต์จะเป็นหน้าสำหรับเขียนบทความ ซึ่งก็แล้วแต่ตัว Page Builder ที่เจ้าของเว็บไซต์เลือกใช้เลยว่าจะมีหน้าตาให้ตั้งค่าหน้าบทความแบบไหน
  • สำหรับวิธีการเขียนบทความ SEO เพื่อทำอันดับบน Google นั้นสามารถดูวิธีการเขียนได้เลยที่ บทความ SEO คืออะไร ดูวิธีเขียนบทความ SEO แบบละเอียดตามหลักการทำ On-Page
  • เมื่อเจอแล้วให้ทำการกด Activate ตัวปลั๊กอินแล้วใช้งานได้เลย (สำหรับใครที่อยากรู้ว่า Yoast SEO Plugin ทำอะไรได้บ้าง ลองเข้าไปอ่านบทความ … นี้เลยแมวส้มทำสรุปไว้ให้เรียบร้อยแล้ว)

สรุป 

สรุปแล้ว WordPress คือ โปรแกรมที่ช่วยทำให้ทุกคนลงมือทำเว็บไซต์ด้วยตัวเองได้โดยไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ดเลย เพราะ WordPress มีฟังก์ชันรองรับการใช้งานด้วยการสร้างเองทั้งหมด

เนื่องจากเป็น CMS ที่มีทั้งธีม ปลั๊กอิน รวมถึงระบบหลังบ้านและซอฟต์แวร์ครบ จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนที่อยากมีเว็บไซต์แต่เขียนโค้ดเองไม่ได้ แค่ลงทุนซื้อโดเมน Hosting สมัคร WordPress รวมถึงธีมอีกนิดหน่อยก็สามารถสร้างเว็บไซต์สวยๆ แถมยังช่วยให้ติดหน้าแรกบน SERPs ของ Google ได้แล้วล่ะเมี้ยว~

แต่ถ้าหากว่าใครกำลังมองหาบริษัทรับทำ SEO อยู่ แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มยังไง แนะนำให้ปรึกษาได้เลยครับ ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย

Picture of 9IDea

9IDea

9iDea ผู้หลงไหลในการทดสอบการทำ SEO จนเป็นนิสัย แถมยังเป็นผู้ชอบเล่าเรื่องเกี่ยวกับเรื่องการทำ SEO และย่อมาให้อ่านกันแบบง่าย ๆ